คุณกำลังอ่านข้อความนี้

0

Moving Average

9Professionaltrader วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Moving Average คือเส้นเฉลี่ยการเคลื่อนที่ซึ่งคำนวณมาจากราคาในแต่ละช่วงแล้วนำมาหาค่า เฉลี่ย
การใช้ Moving Average ในการทำกำไร เราจะใช้กับตลาดที่สามารถบอกเทรนได้ ไม่สามารถใช้กับตลาดที่ผันผวนมากๆแกว่งไปแกว่งมา ( Side way)
Moving Average ให้สัญญาณที่ช้า แต่ถ้าเราดูเป็นก็สามารถใช้มันในการเกร็งกำไรได้อย่างง่ายดาย
ประโยชน์ Moving Average
1. ใช้เป็นเส้นแนวรับแนวต้านได้
2. ใช้เพื่อดูแนวโน้ม
3. ใช้ Confirm สัญญาณการเข้าออก
Moving Average ที่่ใช้กันทั่วไป ใช้ แบบ Simple และ Exponential เรียกสั้นๆ ว่า SMA และ EMA
ผมจะยกตัวอย่าง Moving Average ที่ผมใช้ในการเกร็งกำไรนะครับ
Moving Averageที่ผมใช้เป็น แบบ Exponential มีค่า Period 5 , 21 , 55 , 110 และ 200 วัน ทำไมผมจึงเลือกใช้ Exponential ก็เพราะว่า EMA จะให้ค่าที่แม่นตรงกว่า SMA
เรามาดูวิธีการใช้กันเลย
1 . ใช้เพื่อดูแนวรับแนวต้าน(Support And Resistance)
การดูแนวรับแนวต้านเราจะดูที่ช่วงเวลา( Time Frame ) ใหญ่ๆ เพราะที่ช่วง TF ใหญ่ๆจะให้ค่าที่ค่อนข้างแม่นพอสมควร
เมื่อราคาวิ่งผ่าน EMA ไปแล้ว โดยส่วนใหญ่ มันจะวิ่งกลับมาหาเส้นที่มันทะลุอีกครั้งเพื่อทดสอบแนวรับแนวต้าน
ดูรูปประกอบด้านล่าง

จากรูปด้านบน เป็นกราฟ Daily ของ USD/JPY
สีน้ำเงิน เป็น เส้น EMA 5
สีแดง เป็น เส้น EMA 21
สีดำ เป็น เส้น EMA 55
สีส้ม เป็น เส้น EMA 110
สีน้ำตาลเป็น เส้น EMA 200
จากรูปด้านบนเราจะเห็นว่า เมื่อราคาได้ทะลุเส้น EMA แล้วมักจะกลับมาทดสอบอีกครั้ง ลองดูง่ายๆนะครับ เราจะเห็นกราฟ ยูเจ เป็นช่วงขาลง
และราคาได้ปรับตัวขึ้นไป เส้นแนวต้านเส้นแรกก็คือ EMA 5 ถ้าทะลุ เส้นนี้ก็ไป EMA 21 ถ้าทะลุ 21 ก็ไปหาเส้น 55 ถ้าทะลุก็ไปต่อเรื่อยๆ
เส้น EMA 200 จะเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งมาก ถ้าทะลุไปก็คือเปลี่ยนแนวโน้มทันที ห้ามสวนเทรน เราอาจจะใช้ เส้น EMA 200 เพื่อบอกเทรนก็ได้
เราสามารถประยุกต์ EMA นี้ ได้กับ ทุก Time Frame เพื่อทำกำไรในตลาดฟอเร็ก

2. เราจะใช้ EMA เพื่อบอกแนวโน้ม ดังรูปด้านล่าง
EMA สามารถบอกแนวโน้มเราได้ ว่าขณะนี้เป็น เทรนขึ้นหรือลง
แนวโน้มขั้น ( Up Trend) จะเป็นแนวโน้มขึ้นก็ต่อเมื่อ ราคาได้ทะลุ EMA ทุกเส้นขึ้นไปทั้งหมด และราคาปิดสามารถอยู่เหนือ EMA
(การดูแนวโน้ม ให้ดูที่กราฟ สี่ชั่วโมงขึ้นไป เพราะกราฟใหญ่ๆจะไม่หลอกเรา )
แนวโน้มลง (Down Trend ) จะเป็นแนวโน้มลงก็ต่อเมื่อ ราคาได้ทะลุ EMA ทุกเส้นลงมาทั้งหมด และราคาปิดอยู่ใต้เส้น EMA

3.ใช้ Confirm สัญญาณการเข้า-ออก เราสามารถใช้ EMA ในการซื้อขาย ได้ หลักการดูก็คือ ดูการตัดกันของ EMA โดยเริ่มจาก EMA ที่มีค่าน้อยตัด EMA ค่ามาก
เช่น EMA 5 ตัดกับ EMA 20 ตัดขึ้นไป เราก็เข้าซื้อ BUY/LONG หรือ EMA 5 ตัดกับ EMA 20 ตัดลงมาก เราก็เข้าขาย Sell/Short ดูตัวอย่างจากรูปด้านล่าง
จากรูป ดูที่ขอบด้านซ้าย EMA 5 เริ่มตัด เส้นEMA 21 นั้นเป็นสัญญาณบอกแล้วว่า แนวโน้มได้เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว และ เส้น EMA 5 ก็ทะลุเส้น EMA 21 , 55 ,100 ,200
เราก็คาดการณ์ได้เลย ว่าเป็นแนวโน้มลงแน่นอน สังเกตุที่แท่งเทียน แท่งเทียนได้ทะลุ EMA 5 ลงมาแล้ว และมันก็กลับไปเทสที่ตัวมันเองอีกครั้งแต่ไม่ผ่าน แล้ว
ราคาก็ไต่ระดับลงมาอีกแล้วก็กลับไปทดสอบเส้น EMA 5 และ EMA 21 กราฟแบบนี้สวยมาก เป็นการลงต่อเนื่อง ไม่สามารถทะลุ EMA ที่มีค่าน้อยๆไปได้ นั่นหมายความว่า
ราคายังจะลงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเส้น EMA 5 จะทะลุเส้น EMA 21 ขึ้นไป เราจึงมองว่ามันเป็นขาขึ้น อย่าสวนเทรนกันเด็ดขาด

เมื่อเรารู้แล้วว่าแนวโน้มใหญ่ไปทางไหน ขึ้นหรือลง เราก็มามองหาราคาที่เราจะเปิดออเดอร์ เราควรหาราคาเข้าที่ Time Frame เล็กๆ
เมื่อแนวโน้มของ Time Frame เล็กๆ ตรงกับ แนวโน้มของ Time Frame ใหญ่ เราจึงเปิดออเดอร์ ... ขอให้ทุกท่านโชคดี ครับ

ขอขอบคุณที่มา >> http://www.fx-dd.makewebeasy.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับบทความที่ 9professionaltrader ได้เขียน

InstaForex
 
Related Posts with Thumbnails